Posted on Leave a comment

งานวิจัยชิ้นใหม่บ่งชี้ว่าการเล่นฟุตบอลอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์คินสัน

ผลงานวิจัยชิ้นใหม่จากศูนย์ CTE ของมหาวิทยาลัยบอสตันได้เสนอรายงานเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการเล่นฟุตบอลและความอ่อนแอของร่างกายที่เพิ่มขึ้นที่จะส่งผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการดึงข้อมูลจากแบบสำรวจออนไลน์ ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิไมเคิล เจ. ฟอร์คเพื่อการวิจัยโรคพาร์คินสัน (Michael J. Fox Foundation for Parkinson’s Research) ที่ระบุว่าบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการเล่นฟุตบอลมีโอกาสเป็นโรคพาร์คินสันสูงกว่าผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเล่นฟุตบอลถึง 61% ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่เข้าร่วมเล่นกีฬาประเภทอื่นๆ แสดงให้เห็นว่ามีอัตราการเกิดโรคพาร์คินสันค่อนข้างต่ำกว่า

ข้อมูลเชิงลึกของการศึกษาวิจัยนี้ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดังอย่างวารสารเจมาเน็ตเวิร์คโอเพน (JAMA Network Open) เผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับฟุตบอลในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งรวมถึงการเล่นระดับอาชีพและระดับวิทยาลัย มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคพาร์คินสัน เมื่อเทียบกับผู้ที่เล่นฟุตบอลในระดับเยาวชนหรือระดับมัธยมปลาย ซึ่งผู้เล่นในระดับมืออาชีพหรือผู้เล่นในระดับวิทยาลัยจะมีความเสี่ยงมากกว่าถึงเกือบสามเท่า จูลี แสตมม์(Julie Stamm) นักประสาทวิทยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกด้านกายภาพศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ กล่าวย้ำว่า “นี่คือการเพิ่มหลักฐานสะสม ซึ่งเน้นย้ำถึงผลกระทบที่ยาวนานของการบาดเจ็บของสมองซ้ำๆ”

ขยับจากโรคพาร์คินสันมวยไปสู่โรคพาร์คินสันฟุตบอล  โดยสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ(National Institute on Aging) ได้อธิบายว่าโรคพาร์คินสันเป็นความผิดปกติทางสมองที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวโดยไม่สมัครใจและไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การสั่นและการทรงตัวที่บกพร่อง ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือการตายของเซลล์ประสาทในปมประสาทฐาน (basal ganglia) ซึ่งเป็นบริเวณสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาสาเหตุอย่างกว้างขวาง แต่สาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่องนี้ยังคงไม่มีความแน่นอน โดยปกติแล้วอาการของโรคพาร์คินสันจะแสดงออกมาอย่างต่อเนื่องหลังจากอายุ 60 ปีขึ้นไป

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยจำนวนมากที่ได้ศึกษาความเชื่อมโยงการบาดเจ็บที่ศีรษะในกีฬาที่มีการสัมผัสหรือประทะกัน เช่น ฟุตบอล กับความเจ็บป่วยของระบบประสาท ซึ่งรวมถึงเส้นโลหิตตีบด้านข้างของกล้ามเนื้ออ่อนแรง (amyotrophic lateral sclerosis – ALS) และโรคสมองจากบาดแผลเรื้อรัง (CTE) การศึกษาวิจัยในปี พ.ศ.2560 ตรวจพบว่า 99% ของผู้เสียชีวิตที่เล่นกีฬา NFL เกิดจากโรคบาดแผลเรื้อรังในสมองหรือที่เรียกว่า CTE ซึ่งผู้เสียชีวิตเหล่านี้ได้บริจาคสมองเพื่อการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การเปิดเผยนี้ได้กระตุ้นให้วงการกีฬาอเมริกันฟุตบอลลีค หรือNFL ยอมรับต่อสาธารณชนถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างฟุตบอลกับภาวะสมองเสื่อม ในขณะที่ศูนย์โรคสมองจากบาดแผลเรื้อรัง หรือ CTE แห่งมหาวิทยาลัยบอสตันได้เป็นผู้นำด้านการวิจัยเกี่ยวกับโรคสมองจากบาดแผลเรื้อรัง(CTE) ในสหรัฐอเมริกา เพียงแต่จุดเน้นของศูนย์ได้มุ่งศึกษาวิจัยไปที่โรคพาร์กินสันที่เกิดจากความเชื่อมโยงในอดีตและประวัติศาสตร์ระหว่างการชกมวยกับโรคพาร์กินสัน นายไมเคิล อลอสโซ(Mr.Michael Alosco) ผู้อำนวยการร่วมของการวิจัยทางคลินิกศูนย์CTE และเป็นหนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยนี้ อธิบายว่า “ทั้งการชกมวยและเล่นฟุตบอลมีส่วนโดยปกติของการที่บุคคลจะถูกกระทบกระเทือนที่ศีรษะซ้ำๆ”