ผลการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้บ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายในช่วงบ่ายมากกว่าการออกกำลังกายในตอนเช้า เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น การวิจัยนี้ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลบริกแฮมและโรงพยาบาลสตรีและศูนย์เบาหวานจอสลิน ได้ดำเนินการวิจัยกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน จำนวนกว่า 2,400 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ผู้เข้าร่วมทดลองสวมอุปกรณ์บันทึกความเร่งของเอวเพื่อติดตามกิจกรรมการออกกำลังกายของตนเอง
ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ออกกำลังกาย “ระดับปานกลางไปจนถึงระดับที่หนักขึ้น” ในช่วงเวลาบ่ายพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดที่สุด กิจกรรมประเภทนี้ ได้แก่ การเดินเร็ว การเล่นแบดมินตันเพื่อความบันเทิง และกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเดินป่า การวิ่งจ๊อกกิ้ง หรือการขี่จักรยานที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น ผลเชิงบวกต่อระดับน้ำตาลในเลือดมีความสม่ำเสมอ แม้กระทั่งหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลจากปีที่สี่ของการวิจัยแล้ว ผู้ที่ออกกำลังกายในช่วงเวลาบ่ายก็มีแนวโน้มที่จะลดหรือหยุดการใช้ยารักษาโรคเบาหวานที่ลดน้ำตาลได้มากขึ้น
ผลการวิจัยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญที่อาจเกิดขึ้นของจังหวะการออกกำลังกายในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น การนอนหลับและการรับประทานอาหาร โดยผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้ง ดร.ลูซี่ แชมเบอร์ จากสถาบันโรคเบาหวานอังกฤษ (Dr. Lucy Chambers from Diabetes UK) ได้เน้นย้ำถึงประโยชน์จากการค้นหารูปแบบวิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับความชอบของแต่ละบุคคลที่จะสามารถทำได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงว่าควรเป็นเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าการออกกำลังกายช่วงบ่ายจะเชื่อมโยงกับประโยชน์ที่สำคัญที่สุด แต่เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของการออกกำลังกายรูปแบบนี้ก็ยังไม่ชัดเจน และหลักฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับช่วงเวลาออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุดก็ยังคงคละเคล้ากันไป โดยผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการดูแลเบาหวาน(Diabetes Care).