นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่ของหอดูดาวยุโรปใต้ในประเทศชิลี เพื่อตรวจหาจุดมืดที่สำคัญในชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูน พร้อมด้วยจุดที่สว่างอย่างไม่คาดคิด นับเป็นครั้งแรกที่กล้องโทรทรรศน์บนโลกได้สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวบนดาวเนปจูน การค้นพบนี้ให้ความกระจ่างใหม่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ตามที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์แอสโตรโนมี (Nature Astronomy) โดย ศาสตราจารย์เออวิน แพทริค (Patrick Irwin)หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นที่มีมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เป็นจุดมืดซึ่งเข้าใจยากเหล่านี้
ดาวเคราะห์ที่เป็นก๊าซ เช่น ดาวเนปจูนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงพายุที่คล้ายกับจุดสีแดงขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสบดี แม้จะเป็นความท้าทายที่เกิดจากธรรมชาติซึ่งเป็นพายุเพียงชั่วคราวบนดาวเนปจูน แต่ทีมวิจัยก็ยังพยายามที่จะค้นหาต้นกำเนิดของพายุเหล่านี้ พายุที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งอยู่บนก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์ลูกนี้สังเกตได้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “ฮับเบิล”(Hubble Space Telescope) และยานโวเอเจอร์ 2 ซึ่งพายุดังกล่าวจะมีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างไปจากพายุเฮอริเคนบนโลก เออร์วินและทีมวิจัยของเขาใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่และอุปกรณ์มุส (MUSE) เพื่อถ่ายภาพที่ให้ความคมชัด ซึ่งเผยให้เห็นว่าจุดสีดำนั้นเป็นผลมาจากอนุภาคอากาศรวมตัวกันใต้ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูน การวิจัยนี้ได้ค้นพบ “ก้อนเมฆส่องสว่าง” ประเภทใหม่ที่อยู่ติดกับจุดมืด ซึ่งเป็นที่สนใจของเหล่านักดาราศาสตร์ การค้นพบนี้ได้เน้นย้ำถึงความก้าวหน้าด้านความสามารถในการสำรวจจักรวาลของมนุษยชาติ โดยได้เปลี่ยนจากวิธีการตรวจค้นหาด้วยยานอวกาศไปเป็นการตรวจค้นหาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศระยะไกลถ่ายทอดลงสู่ภาคพื้นดินแทน โดยนักดาราศาสตร์ได้ตั้งเป้าหมายที่จะสำรวจสิ่งที่ค้นพบใหม่นี้เพิ่มเติมในอนาคตผ่านการสังเกตการณ์บนโลก.